top of page

Frequently Asked Questions

คำถามทั่วไป

Q1: ชีวิตความเป็นอยู่ที่ มทส เป็นอย่างไรบ้าง

Q2: พื้นเพไม่ได้อยู่ที่ จ.นครราชสีมา การพักที่หอพักในมหาวิทยาลัยหรือข้างนอกจะดีกว่ากัน

 

 

เกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียน

Q3: ระบบไตรภาคคืออะไร

Q4: กว. คืออะไร

Q5: เรียนจบอยากหรือไม่ การผลิตหรือออกแบบผลิตภัณฑ์จบง่ายกว่ากัน

Q6: นักศึกษาต่างชาติเข้าเรียนได้หรือไม่ มีเงื่อนไขอะไรบ้าง

Q7: วิศวกรรมการผลิตเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

Q8: วิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

Q9: คุณสมบัติของผู้สนศึกษาวิศวกรรมการผลิตควรเป็นอย่างไร มีพื้นฐานใดที่จำเป็นบ้าง

Q10: คุณสมบัติของผู้สนศึกษาวิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์ควรเป็นอย่างไร มีพื้นฐานใดที่จำเป็นบ้าง

Q11: วิศวกรรมการผลิตต่างจากวิศวกรรมอุตสาหการและเครื่องกลอย่างไรบ้าง

Q12: วิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างจากสถาปัตฯ หรือครุศาสตร์ออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างไรบ้าง

Q13: จบปริญญาตรีวิศวกรรมการผลิตหางานยากหรือไม่

Q14: จบปริญญาตรีวิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์หางานยากหรือไม่

Q15: สายงานสำหรับผู้จบปริญญาตรีวิศวกรรมการผลิต มีอะไรบ้าง

Q16: สายงานสำหรับผู้จบปริญญาตรีวิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอะไรบ้าง

Q17: สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่ อัตราเงินเดือนเป็นอย่างไร

Q18: จบหลักสูตรวิศวกรรมการผลิตแล้วได้ กว. หรือไม่

Q19: จบหลักสูตรวิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์แล้วได้ กว. หรือไม่

Q20: การเป็นผู้หญิงมีความเสียเปรียบผู้ชายหรือไม่ในสายงานของวิศวกรรมการผลิตหรือออกแบบผลิตภัณฑ์

Q21: สามารถเปลี่ยนหลักสูตรได้หรือไม่ ถ้าเปลี่ยนได้ มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง

Q22: สามารถเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย (Part-time Study) ได้หรือไม่

 

 

เกี่ยวกับการสมัครเข้าศึกษา

Q23: เริ่มสมัครเมื่อไร อย่างไร

Q24: ต้องการสมัครเข้าเรียน ต้องทำอย่างไรบ้าง

Q25: ใช้เวลานานเท่าไร กว่าจะทราบผล

Q26: หลังจากยื่นใบสมัครไปแล้ว หากต้องการเปลี่ยนรายละเอียดหรือหลักฐาน สามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร

Q27: หากได้รับการตอบรับให้เข้าเรียนแล้ว แต่มีเหตุจำเป็นทำให้ไม่สามารถเริ่มเรียนได้ สามารถเลื่อนการเข้าศึกษาไปอีกได้หรือไม่

 

 

เกี่ยวกับทุนการศึกษา

Q28: มีทุนการศึกษาให้หรือไม่

Q29: ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรเป็นเท่าไร

 

 

 

คำตอบ

คำถามทั่วไป

Q1: ชีวิตความเป็นอยู่ที่ มทส เป็นอย่างไรบ้าง
  • คำตอบจากรุ่นพี่คนหนึ่ง “มหาวิทยาลัยของเราชื่อว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เราเรียกย่อๆ  กันว่า มทส (หรือมหาวิทยาลัยที่ราบสูง) สำหรับที่นี่น้องๆ อาจจะเคยที่ยินว่าพวกเราเรียนกันอยู่ในป่า ใช่แล้วค่ะ เราเรียนกันอยู่ในอุทยานแห่งชาติ มีธรรมชาติ อากาศดีๆ ในเนื้อที่กว่า 7,000 ไร่ ถ้าพูดถึงเรื่องการเป็นนักศึกษาแน่นอนค่ะ นักศึกษาทุกคนจะต้องปรับตัวมากที่สุดในการเรียนในมหาวิทยาลัย หลายคนคงนึกถึงช่วงเวลาในปีแรกที่ได้ก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "เฟรชชี่" นักศึกษาซึ่งมาจากต่างที่ ต่างสถานศึกษาจะได้รับประสบการณ์ใหม่พร้อมๆ กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกด้าน ซึ่งบางเรื่องอาจเป็นสิ่งที่แตกต่างไปจากการเรียนในระดับมัธยมศึกษาอย่างสิ้นเชิง จึงควรทำความเข้าใจกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นและพยายามปรับตัวใหม่ให้เหมาะสม นักศึกษา ม. เทคโนโลยีสุรนารี จะเป็นเด็กสายวิทย์ประมาณ 90% สายศิลป์ประมาณ 10% การรับน้องจะมีการตั้งชื่อรุ่นแตกต่างกัน โดยใช้ชื่ออันเป็นเอกลักษณ์ของภาคอีสานต่างๆ เช่น รุ่นปีบทอง รุ่น พ.ศ. 49 และรุ่นชูช่อ ณ ม.ที่ราบสูง มอเตอร์ไซค์ดูจะเป็นยานพาหนะคู่ชีพของนักศึกษาที่นี่เวลาไปเรียนตามอาคารต่างๆ เพราะพื้นที่มีบริเวณกว้าง หอพักและอาคารเรียนอยู่ห่างกันประมาณ 3 กม. แต่ก็มีรถเมล์ให้บริการรอบๆ บริเวณ รถออกทุก 5 นาที หากมีเวลาว่าง นักศึกษาก็นิยมไปเดินเล่นที่เดอะมอลล์โคราช หรือไม่ก็ที่ตลาดสินค้ามือสองบริเวณสามแยกปักธงชัย สินค้าจะมีหลากหลายกว่าที่ไนท์บาร์ซ่าในเมืองโคราช ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าแฟชั่น บรรยากาศภายในมหาวิทยาลัยจะคึกคักตอนสอบ เพราะจะมีการจัดติวโดยอาจารย์และรุ่นพี่เสมอๆ ที่หอพักและที่คณะ และถึงแม้หนังสือเรียนของที่นี่จะเป็นภาษาอังกฤษแทบทั้งนั้น นักศึกษาก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะส่วนมากมีชี้ทแจกอธิบายเพิ่มเติมให้ด้วย ส่วนใครที่กลัวสอบไม่ผ่าน ขอแนะนำสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของมหาวิทยาลัยนี้ที่เรียกว่า "ลานย่า" ซึ่งมีรูปย่าโมอยู่ตรงกลาง มีขนาดใหญ่ แต่ก็มีขนาดจำลองเหมือนของจริง ซึ่งนักศึกษานิยมแก้บนโดยการทำความสะอาดบริเวณโดยรอบของลาน”   กลับด้านบน

 

Q2: พื้นเพไม่ได้อยู่ที่ จ.นครราชสีมา การพักที่หอพักในมหาวิทยาลัยหรือข้างนอกจะดีกว่ากัน
  • ในปีแรก แนะนำให้อยู่หอพักของมหาวิทยาลัยเพื่อปรับตัวและเรียนรู้การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย

โดยทั่วไปหอจะมีอยู่สองแบบ คือ หอใน(มหาวิทยาลัย) และหอนอก(มหาวิทยาลัย) ได้ชื่อว่าเป็นหอในอาจจะไม่สะดวกสบายเท่าหอนอก แต่ว่ามันจะทำให้ชีวิตน้องๆมีสีสันและสร้างความทรงจำดีๆ ในชีวิตครั้งหนึ่งซึ่งเคยเป็นเด็กหอ

หอใน (มหาวิทยาลัย) ของเราจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ

1. หอพัก 3 ชั้น สำหรับนักศึกษาหญิง จำนวน 6 อาคาร (หอพักสุรนิเวศ 1-6) ห้องน้ำรวม

2. หอพัก 2 ชั้น สำหรับนักศึกษาชาย มีจำนวน 6 อาคาร (หอพักสุรนิเวศ 7-12) ห้องน้ำรวม

3. หอพักชั้นเดียว มีจำนวน 4 อาคาร (หอพักสุรนิเวศ 13-16) ห้องน้ำในตัว

ภายในหอพักมีระบบอินเทอร์เน็ตทุกอาคารทั้งแบบใช้สายและไร้สาย สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ได้แก่ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ห้องดูโทรทัศน์ ร้านถ่ายเอกสาร ร้านอาหาร มินิมาร์ท ATM ธ.กรุงไทย และ ธ.ไทยพาณิชย์ และยังมีศูนย์การเรียนรู้หอพักนักศึกษาด้วย ค่าธรรมเนียมหอพักสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีอยู่ที่คนละประมาณ 2,000-2,700 บาทต่อภาคการศึกษา นอกจากนี้ยังสามารถพักค้างชั่วคราวได้ด้วย โดยคิดค่าธรรมเนียมวันละ 30 บาทต่อคน

นอกจากหอพักนักศึกษา ภายในมหาวิทยาลัย ยังมีโรงแรมชื่อว่า "สุรสัมนาคาร" ให้บริการที่พักสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการมาเยี่ยมบุตรหลานอีกด้วย

หอนอก (มหาวิทยาลัย) ต้องบอกก่อนเลยว่ามหาลัยของเรามีหลายประตู มีตั้งแต่ประตู 1-4 กันเลยทีเดียว และหอพักก็มีทุกประตู แต่ที่นักศึกษานิยมพักก็จะเป็นประตู 1 เราเรียกกันว่าหน้ามอ และประตู 4 เราเรียกกันว่าหลังมอ สำหรับเรื่องราคาก็จะมีหลายแบบ ตั้งแต่ช่วง 2000-5000 บาท/เดือน กลับด้านบน

 

เกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียน

Q3: ระบบไตรภาคคืออะไร
  • การเรียนระบบ 3 ภาคการศึกษาต่อปี ในแต่ละเทอมจะใช้ระยะเวลาการเรียน 12 สัปดาห์ และสอบอีกประมาณ 2 สัปดาห์   กลับด้านบน

 

Q4: กว. คืออะไร
  • เป็นชื่อเรียกที่คนทั่วไปคุ้นเคยของใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ปัจจุบันมี 7 สาขาวิชาที่มีใบประกอบวิชาชีพ ได้แก่ โยธา เครื่องกล ไฟฟ้า อุตสาหการ เหมืองแร่ สิ่งแวดล้อม และเคมี เนื่องจากเป็นสาขาวิชาที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยของสาธารณะ หากต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของสาธารณะก็ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถทำงานนั้นได้   กลับด้านบน

 

Q5: เรียนจบอยากหรือไม่ การผลิตหรือออกแบบผลิตภัณฑ์จบง่ายกว่ากัน
  • เรียนไม่ยาก จบไม่ยาก ขึ้นกับความชอบและความถนัด ของแต่ละคน   กลับด้านบน

 

Q6: นักศึกษาต่างชาติเข้าเรียนได้หรือไม่ มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
  • เข้าเรียนได้ แต่ในปัจจุบันยังทำการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยอยู่ ดังนั้นหากจะเข้ามาเรียน ก็ต้องฟังพูดภาษาไทยได้บ้าง ในอนาคตก็อาจจะปรับให้มีการเรียนสอนเป็นภาษาอังกฤษด้วย   กลับด้านบน

 

Q7: วิศวกรรมการผลิตเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตมีความต้องการที่จะสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านการผลิตสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาประกอบการผลิตทางอุตสาหกรรม สามารถบูรณาการความรู้จากศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตทั้งในการออกแบบชิ้นส่วน การออกแบบการผลิตและประกอบ ระบบการผลิตอัตโนมัติ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การวางแผน การควบคุมคุณภาพ การวิจัยการดำเนินงาน เพื่อให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี และความต้องการทั้งในระดับประเทศและระดับสากล กลับด้านบน

 

Q8: วิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง
  • วิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นหลักสูตรสหวิทยาการ (Multidisciplinary) ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบชิ้นส่วน บรรจุภัณฑ์ หรือผลิตภัณฑ์ ให้สามารถต่อยอดความรู้ทางวิศวกรรมที่ทันสมัย เช่น เทคนิคการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการวิจัยการดำเนินงาน เพื่อผสมผสานกับการออกแบบเชิงศิลป์และไปสู่การออกแบบในหลากหลายรูปแบบ สามารถผลิตได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในเชิงอุตสาหกรรม สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค และมีสุนทรียนิยม โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย กลับด้านบน

 

Q9: คุณสมบัติของผู้สนศึกษาวิศวกรรมการผลิตควรเป็นอย่างไร มีพื้นฐานใดที่จำเป็นบ้าง
  • เป็นผู้ที่มีความสนใจที่จะทำงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิต มีความรู้และทักษะในวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์สำหรับวิศวกรรมพื้นฐาน มีความชอบและสนใจในเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านการผลิต มีความใฝ่รู้และช่างสังเกตในรายละเอียดจากสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ช่างสงสัยและตั้งคำถามเกี่ยวกับที่มาของข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ รอบตัวว่าถูกผลิตหรือผ่านกระบวนการมาอย่างไรกว่าจะมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป มีความกระตือรือร้นและอยากที่จะปรับปรุงพัฒนาตนเองและสิ่งรอบตัวอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คนรอบข้างเนื่องจากการทำงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตมักต้องใช้ทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้คนอยู่เสมอ รวมถึงควรมีความละเอียดรอบคอบในงานต่าง ๆ ที่ปฏิบัติ กลับด้านบน

 

Q10: คุณสมบัติของผู้สนศึกษาวิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์ควรเป็นอย่างไร มีพื้นฐานใดที่จำเป็นบ้าง
  • เป็นผู้สนใจ ใฝ่รู้ ด้านการคิดออกแบบ  แก้ไขปรับปรุง  มีความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการลงมือปฏิบัติการออกแบบ สนุกสนานในการเรียนรู้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว จากการช่างสังเกต ตั้งปัญหา และวิเคราะห์ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายยิ่งขึ้น มีความสนใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของคนทั้งทางจิตวิทยาและสรีรวิทยา  สนใจในวิทยาการความก้าวหน้าด้านกรรมวิธีและวัสดุต่างๆ ตลอดจนมีรสนิยมในด้านรูปร่าง ขนาดและสีสัน มีมุมมองด้านศิลปะในการค้นพบความงดงามของสิ่งที่อยู่รอบๆตัว   และผู้ที่เรียนวิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ดีนั้น จะต้องมีทักษะในการจัดสรรเวลาการเรียน ทั้งการฟังการบรรยาย และการฝึกปฏิบัติงานจริง ในห้องปฏิบัติการ ผู้ที่เรียนจึงต้องมีความชื่นชอบในสายวิชาชีพด้านการศิลปะ ด้านการออกแบบ และการผลิตอย่างจริงจัง  รวมทั้งมีความสามารถในการทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ด้วยตัวเอง ความสามารถในการทำงานเป็นทีม  เพื่อให้มีผลงานสะสมด้านการออกแบบ และผลงานเดี่ยวซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนเมื่อจบการศึกษาไป กลับด้านบน

 

Q11: วิศวกรรมการผลิตต่างจากวิศวกรรมอุตสาหการและเครื่องกลอย่างไรบ้าง
  • วิศวกรรมศาสตร์สาขาต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นทักษะเฉพาะทาง แต่วิศวกรรมอุตสาหการเป็นการประยุกต์เพื่อให้การดำเนินงานและจัดการทรัพยากรในการผลิตสินค้าหรือการบริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบพัฒนา วางแผน ควบคุม วิจัยการดำเนินงาน และจัดการระบบโดยรวม เพื่อให้การทำงานคุ้มค่าที่สุด ส่วนวิศวกรรมเครื่องกลจะเป็นการประยุกต์ความรู้ด้านกลศาสตร์ของแข็ง กลศาสตร์ของใหล ความร้อน และการควบคุม เพื่อออกแบบและควบคุมเครื่องจักรกลให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

  • วิศวกรรมการผลิตมีความคล้ายคลึงกับอุตสาหการเป็นอย่างมาก ในขณะที่วิศวกรรมอุตสาหการครอบคลุมไปถึงงานบริการด้วย แต่วิศวกรรมการผลิตจะเน้นหนักไปในส่วนของกิจกรรมเพื่อการผลิตเชิงอุตสาหกรรมมากกว่า ทำให้ผู้ศึกษาด้านวิศวกรรมการผลิตจะมีความรู้และทักษะในเชิงกรรมวิธีและเทคนิคการผลิตที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักสูตรของ มทส นี้ เราจะเน้นมากในส่วนของเทคนิคการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ กลับด้านบน

 

Q12: วิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างจากสถาปัตฯ หรือครุศาสตร์ออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างไรบ้าง
  • สิ่งที่มีความสอดคล้องกันคือ  การจัดการศึกษาให้บัณฑิตเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  มีเหตุผล มีการคิดวิเคราะห์ ผสมผสานกับความรอบรู้ด้านศิลปะ การออกแบบเชิงศิลป์ และศึกษากระบวนการผลิตในระบบอุตสาหกรรมเป็นการบูรณาการวิชาในด้านสังคม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เข้าด้วยกันทำให้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมได้หลากหลายรูปแบบสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆรองรับการขยายตัวในธุรกิจอุตสาหกรรมได้

  • หากพิจารณาจากข้อแตกต่าง ที่โดดเด่น ในสายวิชาชีพด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในแต่ละหลักสูตรวิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์มีความแตกต่าง ที่โดดเด่นในเรื่องของความรู้ด้านวัสดุกระบวนการผลิต ทักษะในการใช้เครื่องมือเครื่องจักรกลการตรวจสอบควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ซึ่งนักศึกษาจะได้รับการฝึกทักษะเหล่านี้ให้พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานในภาคอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดีแตกต่างจากหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิตมีความแตกต่างที่โดดเด่นในเรื่องของการมุ่งเน้นการวางรากฐานครูช่างอุตสาหกรรมและนักวิชาการด้านออกแบบผลิตภัณฑ์โดยมีรายวิชาที่เน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิชาชีพครูและเทคนิคในการจัดการสอนด้านการออกแบบให้สามารถปฏิบัติงานในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาอาชีวศึกษาสถานประกอบการและภาคเอกชนและแตกต่างจากหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม ที่ มีความแตกต่างที่โดดเด่นในเรื่องของการมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตในวิชาชีพด้านการออกแบบที่หลากหลายทั้งในภาคอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ทั้งด้านสิ่งทอดินเผาเครื่องเรือนหรืออื่นๆ การนำคุณค่าด้านศิลปหัตถกรรม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาให้ทันต่อยุคสมัยและวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี กลับด้านบน

 

Q13: จบปริญญาตรีวิศวกรรมการผลิตหางานยากหรือไม่
  • ไม่ยากเลย อุตสาหกรรมในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน และประกอบ จึงมีสถานประกอบการรองรับบัณฑิตเป็นจำนวนมาก หลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ อาหาร เป็นต้น โดยสามารถทำงานได้หลายตำแหน่งงาน ตามความชอบและถนัด กลับด้านบน

 

Q14: จบปริญญาตรีวิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์หางานยากหรือไม่
  • ในสภาพปัจจุบันของประเทศไทยนั้น มีความต้องการความเข้มแข็งในภาคการผลิตทางอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศได้ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคการผลิตจึงมีความสำคัญ   บุคลากรด้านวิศวกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์   ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม และความรู้ในด้านงานศิลปะ  เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สวยงาม  จึงมีความจำเป็นอย่างมากในภาคอุตสาหกรรม  ดังนั้น  โอกาสในการหางานจึงมีสูงมาก   เพราะทางเลือกของตลาดแรงงานในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยนั้นมีหลากหลาย   ผู้จบการศึกษาสามารถทำงานได้ทั้งในส่วนของกระบวนการผลิต (Engineering)  และส่วนของการออกแบบ (Designer)  โดยสามารถทำงานได้ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนการเป็นนักวิชาการและนักวิจัยด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี กลับด้านบน

 

Q15: สายงานสำหรับผู้จบปริญญาตรีวิศวกรรมการผลิต มีอะไรบ้าง
  •           ตัวอย่างงานสำหรับผู้จบหลักสูตรนี้ คือ วิศวกรออกแบบการผลิต (Manufacturing Design Engineer), วิศวกรส่วนผลิต (Production Engineer), วิศวกรดูแลกระบวนการผลิต (Process Engineer), วิศวกรควบคุมคุณภาพ (Quality Control Engineer), วิศวกรออกแบบ (Design Engineer), วิศวกรออกแบบเครื่องมือ (Tool Engineer), นักวิชาการหรือนักวิจัย (Academic Scholar or Researcher) เป็นต้น กลับด้านบน

 

Q16: สายงานสำหรับผู้จบปริญญาตรีวิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอะไรบ้าง
  •         ตัวอย่างงานสำหรับผู้จบหลักสูตรนี้ คือ วิศวกรออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design Engineer), วิศวกรออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design Engineer), วิศวกรควบคุมคุณภาพ (Quality Control Engineer), วิศวกรโครงการ (Project Engineer), วิศวกรออกแบบ (Design Engineer), วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิต (Process Engineer), นักวิชาการหรือนักวิจัย (Academic Scholar or Researcher) กลับด้านบน

 

Q17: สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่ อัตราเงินเดือนเป็นอย่างไร
  • อัตราเงินเดือนสำหรับวิศวกรจบใหม่ ปี พ.ศ.2556-2557 ขึ้นอยู่กับความสามารถและการมีทักษะการปฏิบัติงานที่พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานของผู้จบการศึกษา  โดยในแต่ละประเภทของอุตสาหกรรม ก็มีอัตราเงินเดือนขั้นต่ำที่แตกต่างกันไป ตามตำแหน่งงาน และแผนกหรือส่วนงาน   โดย เฉลี่ยอัตราเงินเดือนอยู่ที่ 18,000 บาท โดยอัตราเงินเดือนจะแตกต่างกันไปในแต่อุตสาหกรรม ทั้งนี้ หากผู้จบการศึกษามีความสามารถพิเศษด้านทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ ก็จะได้รับเงินพิเศษนอกเหนือจากอัตราขั้นต่ำเพิ่มไปอีก (สรุปข้อมูลจาก http://www.jobcity.co.th/article/141/กลับด้านบน

 

Q18: จบหลักสูตรวิศวกรรมการผลิตแล้วได้ กว. หรือไม่

 

Q19: จบหลักสูตรวิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์แล้วได้ กว. หรือไม่

 

Q20: การเป็นผู้หญิงมีความเสียเปรียบผู้ชายหรือไม่ในสายงานของวิศวกรรมการผลิตหรือออกแบบผลิตภัณฑ์
  • ปัจจุบันไม่มีความได้เปรียบเสียเปรียบในเรื่องนี้แล้ว เนื่องจากมีวิศวกรที่เป็นผู้หญิงเพิ่มมากขึ้น การเติบโตในอาชีพมักประเมินจากผลงานเป็นหลัก กลับด้านบน

 

Q21: สามารถเปลี่ยนหลักสูตรได้หรือไม่ ถ้าเปลี่ยนได้ มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง

 

Q22: สามารถเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย (Part-time Study) ได้หรือไม่
  •  

 

 

เกี่ยวกับการสมัครเข้าศึกษา

Q23: เริ่มสมัครเมื่อไร อย่างไร
  •  

 

Q24: ต้องการสมัครเข้าเรียน ต้องทำอย่างไรบ้าง
  •  

 

Q25: ใช้เวลานานเท่าไร กว่าจะทราบผล
  •  

 

Q26: หลังจากยื่นใบสมัครไปแล้ว หากต้องการเปลี่ยนรายละเอียดหรือหลักฐาน สามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร
  •  

 

Q27: หากได้รับการตอบรับให้เข้าเรียนแล้ว แต่มีเหตุจำเป็นทำให้ไม่สามารถเริ่มเรียนได้ สามารถเลื่อนการเข้าศึกษาไปอีกได้หรือไม่
  •  

 

 

  •  

Q28: มีทุนการศึกษาให้หรือไม่
  •      นศ สามารถกู้ยืม กยศ. กรอ. ได้ นอกจากนี้ยังมีทุนการศึกษาจากแหล่งต่างๆ  อีกเป็นจำนวนมาก รวมถึงทุนของมหาวิทยาลัยเองด้วย

 

Q29: ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรเป็นเท่าไร
  •      วิศวกรรมการผลิต 133,000 บาทต่อหลักสูตร (186 หน่วยกิต)

  •  

คำนวณ โดยใช้ข้อมูลภาคการศึกษาที่ 1/2557

 

Q1
Q2
Q3-Q7
Q8-Q10
Q11-Q12
Q13-Q16
Q17-Q19
Q20-Q22
bottom of page